見出し画像

วิธีสร้างรายได้ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการดนตรีญี่ปุ่น

ที่ญี่ปุ่นพวก live house กำลังปิดบริการโดยการขอร้องจากรัฐบาล รัฐบาลขอร้อง live house และอุตสาหกรรมบางกลุ่มว่าให้ปิดบริการเพื่อปกป้องแพร่ระบาด covid-19 แต่ให้เงินสนับสนุนไม่พอที่จะอยู่ต่อได้ แล้วแม้ถึงจะได้รับแต่วิธีการตรวจสอบและเงื่อนไขก็เข้มงวด ซึ่งเจ้าที่ได้จริงๆก็น้อยมากๆอยู่
รายได้ไม่เข้ามาแต่ยังมีรายจ่าย ถ้าพวกเขาไม่ทำอะไรก็รอวันพังอย่างเดียว พวกเขาก็เลยคิดวิธีใหม่ (หรืออาจจะวิธีที่มีอยู่แล้วแต่ไม่เคยยกมาใช้) เพื่อสร้างรายได้มาจากทางอื่นนอกจากเปิดให้จัดโชว์ที่ร้าน

เราว่าสถานการณ์ของร้านที่เล่นดนตรีได้ในไทยก็คล้ายๆกัน ร้านก็ต้องปิดบริการ งานดนตรีต่างๆก็โดยยกเลิกหรือเลื่อนไปหมดแล้ว เราเป็นห่วงมากๆว่าร้านพวกนี้และวงการดนตรีไทยต้องมีผลกระทบแน่ๆ
ในฐานะคนญี่ปุ่นที่ได้รับความช่วยเหลือจากวงการดนตรีไทยตลอด เราก็อยากตอบแทนบุญซักอย่างแม้สิ่งเล็กน้อย

เราอยากจะแชร์ไอเดียที่สร้างรายได้ของวงการดนตรีญี่ปุ่นให้วงการดนตรีไทย แล้วถ้าสมมุติมีไอเดียที่อาจจะใช้ได้ในสถานการณ์ทีละคนก็ลองใช้ดูด้วยครับ ถ้าวิธีนั้นได้ผลสำหรับคุณและรอดชีวิตในช่วงลำบากอย่างตอนนี้เราก็ดีใจมากๆครับ
*จะเขียนบทเพิ่มเรื่อยๆครับ เมื่อเขียนเพิ่มก็จะบอกใน facebook page ไปเรื่อยครับ
*คงมีผิดคำศัพท์ที่ใช้หรือการแต่งประโยค ถ้าเห็นจุดที่ไม่เข้าใจหรือผิดก็ช่วยชี้ด้วยครับ
*บทภาษาญี่ปุ่นกดที่นี่ 日本語版はこちら。 

วิธีสร้างรายได้สำหรับวง / ศิลปิน

ขายเพลงโดย digital

สามารถเริ่มขายได้ทันทีหลังจากอัปโหลดเพลง ก็น่าสนใจที่จะมีผลทันที
ถ้าระบบที่มีชื่อเสียงก็จะเป็น bandcamp คิดค่าธรรมเนียมการขายเป็น 15% สำหรับเพลงดิจิทัลและ 10% สำหรับซีดีและสินค้า

画像1

วง "LOSTAGE" ที่เป็นแนว rock ที่เคยมาเล่นโชว์ที่ไทยสองรอบ วงเขาเพิ่งออกอัลบั้มใหม่ ก่อนออกอัลบั้มเป็นซีดีเขาก็จำหน่ายแบบ digital ใน bandcamp

画像2


ขายสินค้าผ่าน E-Commerce / SNS

ในญี่ปุ่นมีระบบที่สร้าง E-commerce และขายสินค้าได้แบบง่ายมากๆอย่าง BASE หรือ STORES
แต่ในไทยอาจจะคุ้นเคยกับ social commerce ที่ขายสินค้าผ่าน Facebook, Instagram และอื่นๆมากกว่า

ที่ญี่ปุ่นวงดนตรีขายซีดีและสินค้าแบบนี้ นี่คือ E-commerce ของวงฮาร์ดคอร์ "ENDZWECK"

画像5

画像4


บริจาครายได้ให้ live house จากการขายเพลง / ได้รับสิทธิ์ฟังเพลงโดยบริจาคให้ live house

วิธีนี้ไม่ใช่การสร้างรายได้ให้กับวงหรือศิลปิน แต่เป็นวิธีการบริจาครายได้ให้ live house จากการขายเพลงแบบ digital
ซึ่งเป็นวิธีเพื่อสนับสนุนให้ live house อยู่รอดมากกว่า

- โครงการ "Save Our Place" โดย "OTOTOY"

画像4

มีโครงการชื่อว่า "Save Our Place" โดย "OTOTOY" ที่เป็น web music store ที่มีนโยบายว่า "music store ที่สามารถอ่านฟังและอุดหนุนดนตรีได้"
โครงการนี้คือวงหรือค่ายเพลงขายเพลงแบบ digital ที่ไม่เคยปล่อยที่ไหนมาก่อนบน OTOTOY แล้วบริจาครายได้จากการขายเพลงโดยหักค่าธรรมเนียมให้ live house, คลับ, โรงละคร ฯลฯ ที่วงหรือค่ายอยากบริจาค


- โครงการ "MUSIC UNITES AGAINST COVID-19" โดยวง "toe"

画像19

"MUSIC UNITES AGAINST COVID-19" เป็นโครงการที่สนับสนุน live house ที่ไม่สามารถทำกำไรได้เนื่องจากอิทธิพลของ COVID-19 โดยวงร็อคญี่ปุ่น "toe"
สามารถเลือก live house ที่อยากสนับสนุนจาก live house ที่จดทะเบียนในโครงการนี้ แล้วซื้อสิทธิ์การเข้าถึงโฟลเดอร์ข้อมูลเพลง
ในโฟลเดอร์มี "ข้อมูลเพลงโดยนักดนตรีประมาณ 70 วง / ศิลปินที่เห็นด้วยกับโครงการนี้" เป็นการขอบคุณสำหรับการสนับสนุน แล้วสามารถฟังได้ตลอดภายในระยะเวลา (จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนปี 2020)
*ถ้าอยากรู้รายละเอียดวิธีอุดหนุนก็ลองเข้าไปอ่านบทความนี้ครับ


จัดทัวร์ที่ไม่ได้กำหนดวัน

ทัวร์ที่ไม่ได้กำหนดวันโดย Hip Hop unit "MOROHA" ไม่ได้กำหนดวันเล่นและเนื้อหางาน กำหนดแค่การตัดสินใจว่าจะจัดขึ้นและสถานที่จัดงาน
ชำระค่าเช่าให้ live house ไว้เป็น "จ่ายล่วงหน้า" แทน "บริจาค" ถ้าสถานการณ์คลี่คลายและกำหนดวันงานได้แล้ว live house ก็จะค่อยประกาศว่าจัดวันไหน
นี่ก็เป็นวิธีเพื่อสนับสนุนให้ live house อยู่รอดมากกว่า

画像20


วิธีสร้างรายได้สำหรับร้านที่เล่นดนตรีได้

จำหน่ายตั๋วเครื่องดื่มล่วงหน้า

Live house ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ระบบ "One drink" คือเมื่อเข้า live house เราต้องจ่ายค่าเครื่องดื่ม (ประมาณ 500 ถึง 600 เยน) ต่างหากจากค่าเข้าชมแล้วรับตั๋วเครื่องดื่ม ตั๋วเครื่องดื่มนี้แลกเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มได้ที่บาร์เคาน์เตอร์ใน live house
Live house จะจำหน่ายตั๋วเครื่องดื่มล่วงหน้าเพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับการบริหารต่อ ตั๋วเครื่องดื่มที่อุดหนุนไว้จะใช้ได้หลังจากร้านเปิด

ในไทยไม่ค่อยเห็นร้านที่มีระบบ "One drink" บางทีงานดนตรีบางงานใช้ระบบนี้โดยค่าเครื่องดื่มรวมอยู่ในค่าชม ซึ่งในไทยระบบนี้ไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่
แต่เราว่าระบบนี้มีผลเพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับร้านที่เล่นดนตรีได้ในไทย

นี่ live house "BUSH BASH" ใน Koiwa, Tokyo จำหน่ายตั๋วเครื่องดื่มออนไลน์โดยใช้ BASE

画像7

画像6


- โครงการอุดหนุนตั๋วเครื่องดื่มล่วงหน้า "SAVE THE LIVEHOUSE"

画像8

เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนการจัดหาเงินทุนของ live house
เลือก live house ที่อยากสนับสนุนและจำนวนตั๋วเครื่องดื่มแล้วอุดหนุนตั๋วเครื่องดื่ม


ใช้ระบบ crowd funding

ระบบ crowd funding คือกลไกที่หาเงินทุนจำนวนเล็กน้อยจากหลายๆคนผ่าน internet ในไทยก็เคยมีระบบ crowd funding ชื่อ Asiola แต่ตอนนี้ดูเหมือนหายไปแล้ว

ในญี่ปุ่น live house หลายๆที่จัดหาเงินทุนเพื่อบริหารร้านต่อโดยใช้ระบบ crowd funding ที่ตั้งตอบแทนหลากหลายให้กับผู้สนับสนุน

นี่ live house "DOMe" ใน Kashiwa, Chiba กำลังใช้ระบบ crowd funding ของญี่ปุ่นชื่อ "Campfire" และจัดหาเงินทุน

画像9


ขายสินค้าผ่าน E-Commerce / SNS

Live house ก็ผลิตสินค้าของตัวเองและขายโดยใช้ E-commerce หรือ social commerce

นี่ E-commerce ของ live house "FEVER" ใน Shindaita, Tokyo

画像10

画像11

นี่ E-commerce ของค่ายเพลง "BIG ROMANTIC RECORDS" โดย live house "MOON ROMANTIC" ใน Aoyama, Tokyo

画像12

画像13


วิธีสร้างรายได้สำหรับผู้จัด Event

Live streaming ด้วยส่งเงินเป็นการสนับสนุน

คิดว่า YouTube เป็นเว็บไซต์วิดีโอที่หลายๆประเทศใช้อยู่ ในญี่ปุ่นสามารถใช้ฟังก์ชั่น Super Chat ของ YouTube ได้ (Super Chat คือฟังก์ชั่นใน YouTube ที่ส่งเงินให้ผู้จัด live streaming เป็นการสนับสนุนระหว่าง live streaming) แต่ในไทยยังใช่ฟังก์ชั่นนี้ไม่ได้ นอกจากนี้เงื่อนไขในการใช้ฟังก์ชั่น Super Chat คือต้องมีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คนและเวลาชมรายการมากกว่า 4,000 ชั่วโมงขึ้นไปในช่อง YouTube ของตังเอง

นี่เป็นช่อง YouTube ของ live house "FEVER" ใน Shindaita, Tokyo
นี่คือโชว์ของ "the band apart" ที่ FEVER แบบ live streaming นอกจากวงนี้ก็มีวงดีๆเท่ๆทั้งนั้นในช่อง YouTube ของ FEVER

画像14

ในไทยก็มีกลไกที่ส่งเงินเป็นการสนับสนุนโดยสไตล์ไทย
เมื่อวันก่อน "Fungjai" จัดเทศกาลดนตรีแบบเล่นโชว์จากบ้านทีละวงชื่อว่า "At Home Festival" ในงานนี้ใช้กลไกที่ส่งเงินเป็นการสนับสนุนสไตล์ไทย
QR code ขึ้นหน้าจอระหว่าง live streaming → ผู้ชมอ่าน QR code ด้วย app ธนาคารของ smart phone → โอนเงินจำนวนเท่าใดก็ได้
กลไกนี้มีประโยชน์มากมาย ใช้ง่ายและส่งเงินได้อย่างรวดเร็ว ในงาน Fungjai ก็มีผลมากมายด้วย รวบรวมแล้วได้รับประมาณ 300,000 บาท ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีที่สนับสนุนวงได้อย่างยิ่งอย่างหนึ่ง

画像15

นี่คือสรุปย่อจากครั้งแรก จะมีครั้งที่สองในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน


ขายบัตร on line สำหรับโชว์แบบ live streaming

เป็นวิธีที่สร้างรายได้จากบัตร on line ซื้อบัตร on line แล้วสามารถดู live streaming ได้

ในญี่ปุ่นมีระบบชื่อ "ZAIKO" ตอนนี้ดูเหมือนว่าใน "ZAIKO" สามารถขายบัตร on line ได้สำหรับ live streaming บน YouTube และ Vimeo (ข่าวประชาสัมพันธ์)

画像17

ในวันที่ 13 มีนาคมวงป๊อปญี่ปุ่น "cero" ขายบัตร on line โดยใช้ ZAIKO และโชว์แบบ live streaming
ด้วยปัจจัยหลายอย่างเช่นความคาดหวังว่า "เพราะ cero จัดงานแบบนี้ก็ต้องทำอะไรน่าสนใจแน่ๆ" แล้วราคาบัตรเพียง 1,000 เยน มีคนอุดหนุนเยอะมากมายถึงมากกว่า 5,000 คน ก็ถือว่าตอบรับดีมากๆที่ cero เองไม่ได้คาดหวังขนาดนั้น


อื่นๆ

ร้องขอการสนับสนุนจากรัฐบาล

ตอนนี้ live house ในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกปิดเนื่องจากการขอร้องจากรัฐบาลให้งดการเปิด
แน่นอนที่รายได้จะหยุดเข้ามา ซึ่งนอกจาก live house ยังรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง live house เช่น sound engineer, lighting engineer, staff ฯลฯ อยู่รอดยากมาก ชีวิตประจำวันของพวกเขาอาจพังก็ได้

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้องค์กรที่ชื่อว่า "♯SaveOurSpace" ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อขอเงินชดเชยจากรัฐบาลสำหรับความสูญเสียเกี่ยวข้องกับการขอร้องจากรัฐบาล องค์กรนี้ชวนลายเซ็นเพื่อส่งเสียงไปเจ้าหน้าที่ของรัฐพร้อมกับคำร้องเพื่อขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

画像17

ชวนลายเซ็นตั้งแต่เย็นวันที่ 27 มีนาคมและรวบรวมมากกว่า 300,000 เสียงภายในวันที่ 31 (เป้าหมายเริ่มต้น 100,000 เสียง)

画像18

เราจะติดตามกิจกรรมนี้ว่าจะกลายเป็นจริงอย่างไร


สรุปสุดท้าย

สำหรับวิธีการสร้างรายได้ข้างต้น แน่นอนว่าทางวงขายบัตร on line ของตัวเองก็ได้ ทาง live house จัด live streaming ด้วยส่งเงินเป็นการสนับสนุนก็ได้ ทางผู้จัด Event ผลิตสินค้าของตัวเองและขายก็ได้
ยังไงเราหวังว่าแต่ละคนสามารถใช้วิธีการที่เหมาะสมกับตัวเองและสร้างรายได้เพื่ออยู่รอดต่อไป

ตอนเราอดออกไปข้างนอกและอยู่ในบ้าน สิ่งที่เราสัมผัสคือดนตรีภาพยนตร์และหนังสือ วัฒนธรรมบันเทิงพวกนั้นช่วยเราตลอด
ต่างคนต่างมีความคิดเกี่ยวกับความบันเทิง แต่หวังว่าเราจะสนับสนุนดนตรีและวัฒนธรรมด้วยกัน แล้วอยากได้ยินเสียงดนตรีดังก้องหลังสถานการณ์ covid-19 ค่อยยังชั่ว

-------------------------------------------------------------------------------------

dessin the world

ค่ายเพลงสำหรับสนับสนุนวงการดนตรีอินดี้ไทยและญี่ปุ่น
ทำกิจกรรมหลายอย่างเพื่อต่อเชื่อมวงการดนตรีไทยกับญี่ปุ่นด้วยแนวคิด "ให้วงการอินดี้ไทยเข้าสู่ญี่ปุ่น ให้วงการอินดี้ญี่ปุ่นเข้าสู่ไทย"

Web site: https://dessin-the-world.jimdosite.com/
Facebook: https://www.facebook.com/dessin.the.world/



この記事が気に入ったらサポートをしてみませんか?